วิธีการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ | เลือกอย่างไรให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการนำไปประกอบอาหาร

เทคนิควิธีการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหาร

วิธีการเลือกซื้อเนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์ ถือได้ว่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อการบริโภคของมนุษย์ เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน ที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย เนื้อสัตว์ที่นิยมบริโภคกัน ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อสัตว์ปีก กุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก โดยอาจแตกต่างกันไปแต่ละภูมิภาค เชื้อชาติ ศาสนา "การเลือกซื้อเนื้อสัตว์" นอกจากเหตุผลด้านราคาแล้ว ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ควรคำนึงถึงด้านคุณภาพและความปลอดภัยและความสดใหม่ของเนื้อด้วย ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์ ที่ผ่านการตรวจของพนักงานตรวจโรคสัตว์ และมาจากโรงงานฆ่าสัตว์หรือโรงงานแปรรูปอาหารที่เชื่อถือได้ หรือเป็นเนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรองจากกรมปตุสัตว์ และควรเลือกซื้อจากแหล่งผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ที่สะอาด มีการดูแลรักษาความสะอาดสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์นั้นเป็นอย่างดี
วิธีการ เลือกซื้อเนื้อสัตว์ 8 ชนิด ให้สดใหม่สะอาดปลอดภัย
ลำดับ
วิธีการเลือกซื้อเนื้อสัตว์

1. วิธีการเลือกซื้อเนื้อหมู

เทคนิควิธีการเลือกซื้อเนื้อหมูให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหาร

ลักษณะเนื้อหมูที่สดใหม่

เนื้อหมู (สุกร) ที่ดี จะมีสีชมพูปนแดงเรื่อๆ นุ่ม ผิวเป็นมัน เนื้อแน่นไม่มีกลิ่นเหม็นหรือเป็นเมือกลื่น ไม่ช้ำเลือด ไม่แห้ง ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือมีสีเขียวและส่วนที่เป็นมันแข็งควรเป็นสีขาวขุ่น
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อหมู
• ควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งเชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรองจากกรมปตุศัตว์
• กรณีซื้อเนื้อหมูแช่เย็น ควรสังเกตวันที่ผลิตบนบรรจุภัณฑ์ซึ่งไม่ควรเกิน 3 วัน นับจากวันที่ผลิตจนถึงวันที่ซื้อ
• ไม่ควรเลือกเนื้อหมูที่มีสีแดงเกินไป และมีชั้นไขมันบางเพราะอาจปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง
• เนื้อหมูที่ปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง ถ้าหั่นและปล่อยทิ้งไว้เนื้อหมูจะมีลักษณะแห้ง ส่วนเนื้อหมูปกติเมื่อหั่นทิ้งไว้จะพบน้ำซึมออกมาบริเวณผิว
• ส่วนของหมูสามชั้น หมูปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วน ต่อมัน 1 ส่วน หรือคิดเป็น 33% แต่สำหรับหมูใช้สารเร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อแดงสูงถึง 3 ส่วน ต่อมัน 1 ส่วน หรือคิดเป็น 25%
ส่วนต่างๆ ของเนื้อหมูที่นำไปทำอาหาร
• หัวสุกร นำมาต้มสุก (ผู้ซื้อส่วนมากซื้อไปแก้บนหรือนำไปไหว้เจ้า) เมื่อต้มสุกแล้วจิ้มน้ำจิ้มพริกน้ำส้ม
• เนื้อแดงเป็นเนื้อที่มีเนื้อล้วนๆ ไม่ติดมัน เหมาะที่จะนำมา อบ ผัด ทำพะแนง หรือทอด
• สันใน เป็นเนื้อที่ติดกับสันหลัง ลักษระเนื้อเป็นชิ้นยาวไม่ติดมัน ส่วนนี้จะมีความนุ่มเหมาะที่จะนำมาทอด หรือ อบ
• สามชั้น สามชั้นที่มีหนังและมันบาง เหมาะสำหรับทำหมูย่างชนิดหนังกรอบ หมูหวาน และ เบคอน
• ขาหลัง ใช้ทำขาหมูพะโล้ เลาะกระดูกออก แล้วยัดไส้หรือทำต้มยำ
การเลือกซื้อส่วนต่างๆ ของหมู ส่วนไหนเอาไปทำอาหารอะไรดี
ส่วนต่างๆ ของเนื้อหมูในการนำไปประกอบอาหาร

2. วิธีการเลือกซื้อเนื้อวัว

เทคนิควิธีการเลือกซื้อเนื้อวัวให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหาร

ลักษณะเนื้อวัวที่สดใหม่

เนื้อวัว (เนื้อโค) ที่ดีควรมีสีแดงคล้ำเล็กน้อยแต่เนื้อวัดที่จัดว่ามีคุณภาพดี ควรมีสีแดงสม่ำเสมอตลอดทั้งชิ้น ควรมีไขมันแทรกกระจายในชิ้นเนื้อถ้าเป็นเนื้อติดมันควรมีมันสีขาวครีมในวัวอายุน้อยถ้ามันที่มีสีเหลืองมักเป็นวัวแก่ หรือ วัวนมที่อายุพ้นวัยให้นมแล้ว เนื้อวัวต้องไม่ช้ำเลือด เมื่อใช้นิ้วกดแล้วจะไม่บุ๋ม ไม่มีกลิ่นเหม็นเปรียว เหม็นเน่า หรือเป็นเมือกลื่น
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อหมู
• ควรเลือกซื้อเนื้อวัวจากแหล่งที่เชื่อถือได้หรือได้รับการรับรองจากกรมปตุสัตว์
• กรณีเนื้อวัวแช่เย็น ให้สังเกตวันผลิตบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งไม่ควรเกิน 3 วัน นับจากวันที่ผลิตจนถึงวันที่ซื้อ
ส่วนต่างๆ ของเนื้อหมูที่นำไปทำอาหาร
• เนื้อที่ติดอยู่กับคอ (Chuck) เหมาะสำหรับทำอาหารอบ สตูว์
• ซี่โครง (Rib) ใช้ในการอบ ทอด ย่าง
• เนื้อสัน (Sirloin) จะแบ่งเป็นสันในกับสันนอก เป็นส่วนที่เลยบั้นเอว สันในเป็นส่วนที่เนื้อนุ่ม ทั้งสันในและสันนอก จะมีราคาแพงเหมาะสำหรับการทอด ย่าง อบ ทำสเต๊ก
• เนื้อสะโพก (Round) เหมาะที่จะใช้อบย่าง ทำเนื้อบด สเต๊ก
• เนื้อสีข้าง (Flank) ส่วนนี้จะมีไขมันเมื่อแล่ออกบ้างแล้วเหมาะที่จะใช้อบหรือนำมาบด
• เนื้อพื้นท้อง (Short Plate) เหมาะสำหรับ ทำสตูว์ น้ำสต๊อก เนื้อเปื่อย เนื้อตุ๋น
• เนื้อท่อนขา (Fore Shank) เป็นส่วนที่เหนียว เหมาะที่จะทำสตูว์ น้ำซุป
• กระดูกวัว เหมาะที่จะนำมาต้มทำน้ำซุป
• ลิ้นโค เหมาะที่จะนำมาเคี่ยวทำสตูว์
ความแตกต่างระหว่างเนื้อวัว (เนื้อโค) กับ เนื้อควาย (เนื้อกระบือ) เนื้อวัวมีสีแดงสดเนื้อแน่นละเอียด มันวัวมีสีเหลือง เนื้อควายจะมีลายเส้นของกล้ามเนื้อหยาบ เนื้อเหนียวกว่าและมีสีคล้ำกว่าเนื้อวัว มันที่ติดเนื้อควายจะมีสีขาวเหมือนเนื้อ
การเลือกซื้อส่วนต่างๆ ของวัว ส่วนไหนเอาไปทำอาหารอะไรดี
ส่วนต่างๆ ของเนื้อวัวในการนำไปประกอบอาหาร

3. วิธีการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีก ไก่และเป็ด

เทคนิควิธีการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีก ไก่ เป็ด ให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหาร

ลักษณะเนื้อสัตว์ปีก ไก่และเป็ดที่สดใหม่

เนื้อสัตว์ปีก เข่น เนื้อเไก่หรือเนื้อเป็ด ควรมีลักษณะเนื้อแน่น ผิวตึงไม่เหี่ยวย่น สีสดไม่ซีดหรือมีจ้ำเขียวๆ ตรวจใต้ปีก ขา ลำคอ ที่ต่อกับลำตัวต้องไม่มีสีคล้ำต้องไม่มีจุดเลือดออกหรือตุ่มหนอง ไม่มีแผลตามตัว ก้านคอและรอยเชือดยังสดอยู่ ลูกตาไม่ลึกบุ๋ม ต้องไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีเมือกที่ผิวเนื้อ เนื้อไม่มีลักษณะเหลว เมื่อใช้นิ้วกดต้องไม่เป็นรอยบุ๋มตามแรงกด และควักไส้สะอาดเรียบร้อย ส่วนเนื้อสัตว์ปีกที่มีลักษณะบ่งชี้ว่าอาจตายด้วยโรคติดเชื้อจะมีเลือดคั่ง มีจุดแดงกระจายตามผิวหนัง
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีก ไก่และเป็ด
การเลือกซื้อเนื้อไก่ ไก่แก่ ปลายเล็บมน หนังใต้อุ้งเท้าจะหนาแข็ง เดือยยาว ไก่อ่อน เล็บจะแหลม หนังใต้อุ้งเท้าจะบาง เดือยจะสั้น ถ้าเป็นสาวจะไม่เห็นเดือยไก่ที่สมบูรณ์ เนื้อออกหนาและนุ่ม
การเลือกซื้อเนื้อเป็ด ควรเลือกซื้อเป็ดที่อ้วน และให้สังเกตดูว่าเป็ดแก่หรือเป็ดอ่อน ซึ่งสังเกตได้จากปากและตีนเป็ด ถ้าปากและตีนเป็นสีเหลือง แสดงว่าเป็นเป็ดอ่อน ถ้าเป็นเป็ดแก่ตีนจะมีสีดำ เนื้อจะเหนียวและมีกลิ่นสาบมาก
ส่วนต่างๆ ของเนื้อไก่ ที่นำไปทำอาหาร
• อกไก่ (boneless breast) เป็นส่วนที่เนื้อเยอะ เนื้อแน่น ไม่มีไขมันแทรก มีโปรตีนสูง เนื้อส่วนนี้ค่อนข้างแห้ง ไม่นุ่ม หากต้องการให้เนื้อส่วนนี้นุ่มต้องหมัก
• สันในไก่ (fillet) เป็นเนื้อส่วนที่ติดกับอกไก่ มีไขมันต่ำ และโปรตีนสูง ต่างจากอกไก่ตรงมีความนุ่มกว่า แต่เนื้อแน่น
• น่องไก่ (drumstick) เนื้อนุ่ม ชุ่มฉ่ำ แต่ไขมันน้อยกว่าส่วนปีก มีส่วนข้อกระดูกอ่อน นิยมนำไปทำเป็นเมนู ทอด ย่าง เพราะส่วนหนังค่อนข้างเยอะ
• สะโพกไก่ (thigh) เป็นส่วนท่อนบนของปีกไก่ ภายนอกมีความคล้ายอกไก่ แต่มีเนื้อนุ่มและมีไขมันแทรกค่อนข้างเยอะ
• น่องติดสะโพกไก่ (leg) เป็นส่วนที่มีทั้งน่องและสะโพกในชิ้นเดียว เป็นส่วนที่มีไขมันแทรกเยอะ และเนื้อนุ่ม
• ปีกบน (wingstick) หรือเรียกอีกชื่อว่า น่องเล็ก เพราะลักษณะคล้ายน่องไก่แต่มีขนาดเล็กกว่า แต่เป็นส่วนของปีกไก่ รสสัมผัสคล้ายกัน นิยมมาทำเป็นเมนูทอด
• ปีกกลาง เป็นส่วนที่นิยมนำมาทำเมนูทอดไม่แพ้ปีกบน จะมีกระดูกเล็กๆ สองซี่และมีเนื้ออยู่รอบๆ เนื้อนุ่ม ไขมันแทรกเยอะ
• ปีกปลาย เป็นส่วนที่ไม่ค่อยมีเนื้อ มีเพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น สามารถนำมาทำเป็นเมนูอาหารประเภททอดกรอบ หรือ นำไปต้มเป็นน้ำซุป
• ตีนไก่ เป็นส่วนที่มีคอลลาเจนสูง แม้ไม่มีเนื้อรสสัมผัสนุ่มและเด้ง นิยมนำมาทำเป็นเมนู ยำ ต้มยำ
การเลือกซื้อส่วนต่างๆ ของไก่ ส่วนไหนเอาไปทำอาหารอะไรดี
ส่วนต่างๆ ของเนื้อไก่ในการนำไปประกอบอาหาร

4. วิธีการเลือกซื้อปลา

เทคนิควิธีการเลือกซื้อปลาให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหาร

ลักษณะการเลือกซื้อปลาที่สดใหม่

เนื้อปลาเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ต้องให้ความสำคัญในการเลือกซื้อ เพราะหากเลือกไม่ดี อาจได้เนื้อปลาที่ไม่สด มีกลิ่นคาวเหม็น และอาจส่งผลต่อรสชาติเมื่อนำประกอบอาหาร ซื่งวิธีเลือกซื้อเนื้อปลานั้น ต้องดูดังนี้
• ปลาต้องมีเนื้อแน่น กดแล้วเนื้อต้องคืนตัวอย่างรวดเร็ว และไม่และ
• เนื้อปลาต้องไม่มีกลิ่นเหม็นคาวปกติ หรือ มีกลิ่นเหม็นเน่า
• ดวงตาของปลาต้อง กลม ใส ไม่หลุดออก
• เหงือกปลาต้องไม่เขียวคล้ำ และควรมีเหงือกสีแดงสด
• หากซื้อปลาที่ยังไม่ขอดเกล็ด เกล็ดปลาจะติดแน่นไม่หลุดจากตัวปลา และต้องมีความเงา หนังควรจะมีเมือกทั้งตัว เรียบ และชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เนื้อปลาไม่แข็งทื่อ

5 วิธีการเลือกซื้อกุ้ง

เทคนิควิธีการเลือกซื้อกุ้งให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหาร

ลักษณะการเลือกซื้อกุ้งที่สดใหม่

กุ้ง ถือว่าเป็นอาหรยอดนิยมที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็น เมนู ต้ม ผัดทอด หรือแม้กระทั่ง เมนูดองซีอิ้ว กุ้งมีหลายชนิด เช่น กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุเลา หรือ กุ้งก้ามกราม กุ้งแม่น้ำ แต่การเลือกซื้อกุ้งให้สดใหม่ก็จะมีวิธีที่ไม่แตกต่างกัน
• เปลือกตัวกุ้ง เลือกกุ้งที่เปลือกใสไม่ขุ่น มองเข้าไปในเปลือกยังมองเห็นเส้นดำได้อยู่ เปลือกยังแนบติดกับเนื้อกุ้ง ไม่หลุดออกมา และเปลือกกุ้งจะต้องแข็ง เพราะถ้าเปลือกนิ่มแปลว่ากุ้งพึ่งลอกคาบ เนื้อจะไม่แน่นเท่ากุ้งปกติก
• เปลือกหัวกุ้ง เลือกซื้อกุ้งที่หัวกุ้งยังใส มองเห็นสีของมันกุ้งได้อย่างชัดเจน กุ้งที่มีความสดหัวกุ้งจะไม่เป็นสีดำ
• สีของกุ้ง สีของกุ้งควรจะเป็นสีฟ้า หรือออกเทา ไม่ควรเลือกซื้อกุ้งที่เปลือกสีแดงหรือดำ และ หัว หนวด ปลายขา และปลายหาง ออกเป็นสีดำ เพราะถ้าเป็นสีดำแสดงว่าเป็นกุ้งเก่า
• หัวกุ้งไม่หลุด เลือกซื้อกุ้งที่หัวยังติดแน่นกับลำตัว ไม่หลวมห้อย
• ตากุ้ง ต้องเลือกซื้อกุ้งที่ยังตากลมใส เต่งตึง สีดำสนิด ไม่ขุ่น และไม่เหี่ยว
• เนื้อกุ้ง เนื้อกุ้งต้องแน่นลองใช้นิ้วกดเบาๆ เนื้อกุ้งจะไม่นุ่มเละลงไปตามนิ้ว
• ก้ามกุ้ง การเลือกซื้อกุ้งก้ามกรามควรเลือกกุ้งที่ยังมีก้ามติดอยู่เพราะถ้าก้ามของกุ้งหลุดแสดงว่ากุ้งเป็นกุ้งเก่าและไม่สด
• กลิ่นกุ้ง ควรเลือกซื้อกุ้งที่ไม่มีกลิ่นคาวฉุน หรือ กลิ่นคาวที่แรงกว่าปกติ

6. วิธีการเลือกซื้อปลาหมึก

เทคนิควิธีการเลือกซื้อปลาหมึกให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหาร

ลักษณะการเลือกซื้อปลาหมึกที่สดใหม่

ปลาหมึก ที่นิยมนำมาประกอบอาหารมีอยู่หลายชนิด เช่น หมึกกล้วย หมึกกระดอง และหมึกยักษ์ ลักษณะแต่ละสายพันธ์อาจมีความแตกต่างกันแต่วิธีเลือกซื้อปลาหึกสดแต่ละชนิดก็มีความเหมือนกัน
• ตาของปลาหมึกต้องใส ไม่ขุ่น เห็นตาดำด้านในได้ยอย่างชัดเจน
• หัวและลำตัวของปลาหมึกต้องติดแน่น ไม่หลุด และต้องดึงออกจากกันยาก
• เนื้อของปลาหมึกต้องแน่น ไม่และ เมื่อทดลองกดดูด้วยนิ้วต้องคืนตัวได้ทันที
• เยื่อหุ่มตัวหมึกต้องไม่หลุดรุ่ย ไม่ควรซื้อปลาหมึกที่ลอกเยื้อนี้ออกแล้ว
• หนวดปลาหมึกควรมีสภาพที่สมบูรณ์ แข็งและไม่เปื่อยยุ่ย
• กลิ่นของปลาหมึกต้องมีกลิ่นคาวตามธรรมชาติ ไม่เหม็นเน่า และมีกลิ่นสารเคมี
• ถุงน้ำหมึกต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่แตกหรือฉีกขาด

7. วิธีการเลือกซื้อหอย

เทคนิควิธีการเลือกซื้อเนื้อหอยให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหาร

ลักษณะการเลือกซื้อหอยที่สดใหม่

หอย ที่นิยมนำมาประกอบอาหารมีอยู่หลายชนิดทั้งน้ำเค็ม น้ำกล่อยและน้ำจืด เช่น หอยลาย หอยแคลง หอยแมลงภู่ หอยกะพง หอยนางรม เพราะรสชาติดี หวานอร่อย เนื้อสัมผัสหลากหลายต่างกันไปแต่ละชนิด วิธีการเลือกหอยสดๆ นั้นสังเกตง่ายมาก คือ ให้เลือกตัวที่ยังมีชีวิตอยู่ ดูได้จากฝาหรือเปลือกหอยต้องสมบูรณ์ปิดสนิท ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้นำไปใช้ได้กับหอยทุกชนิด
• หอยจะต้องไม่มีกลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นที่เหม็นคาวผิดปกติ หรือกลิ่นเหม็นเน่า
• หอยที่สดจะต้องยังไม่ตายถ้าเอามือสัมผัสจะต้องเคลื่อนไหว
• เมื่อนำหอยแช่น้ำหอยที่สดควรจนลงไปในน้ก
• เปลือกหอยจะต้องไม่แตกหัก ไม่เปิด ไม่มีเมือก และอยู่ในสภาพดี
• หอยจะต้องไม่มีสิ่งสกปรกมากเกินไปเมื่อแกะเปลือกแล้ว
• เนื้อหอยจะต้องมีสีสดไม่ซีด
• ส่วนการเลือกซื้อหอยที่แกะเปลือกแล้วเช่น หอยแมลงภู่ ต้องมีสดใส ตัวหอยอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ขาดรุ่งริ่ง น้ำที่ใช้แช่หอยไม่มีเมือกมาก และไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า

8. วิธีการเลือกซื้อปู

เทคนิควิธีการเลือกซื้อเนื้ปูให้สดใหม่สะอาดปลอดภัยในการประกอบอาหาร

ลักษณะการเลือกซื้อปูที่สดใหม่

ปูม้าและปูทะเล จะซื้อมาทำอาหารให้อร่อย ต้องซื้อตอนยังเป็นๆ เคล็ดลับ วิธีเลือกซื้อปูม้า ปูทะเล ให้ได้ปูที่สดใหม่ เนื้อแน่น ไข่ปูเยอะเต็มกระดอง สดอร่อย เหมือนเพิ่งขึ้นจากทะเลทำเมนูอาหารแบบไหนก็อร่อย
การเลือกซือปูม้า
• เลือกซื้อปูที่ยังไม่ตาย แต่แบบนี้จะหายาก
• เลือกปูที่มีสีเขียวฟ้าเข้มสดใส (ตัวผู้) สีน้ำตาล (ตัวเมืย) ตาใส ก้ามและขาไม่หลุดหัก
• ดมกลิ่น ต้องมีกลิ่นของทะเลสด ไม่มีกลิ่นฉุนแบบกลิ่นแอมโมเนีย หรือ มีกลิ่นเน่า
• จับดูแล้วตัวหนักๆ  เหมาะสมกับขนาด
• กดที่กลางอกปู ถ้าเนื้อปูแน่นจะไม่ยุบ
• ลองดีดที่กลางกระดองปู ถ้าเสียงแน่น แสดงว่ามีเนื้อ แต่ถ้าเสียงกลวงๆ แสดงว่าเนื้อโพรกกินไม่อร่อย
การเลือกซือเนื้อปูก้อน
เนื้อปูก้อนโดยส่วยใหญ่ทำมาจาก "ปูม้า" การเลือกซื้อต้องเลือกแบบเนื้อปูยังเป็นก้อนสวย ไม่แตก เมื่อดมกลิ่นเนื้อปูจะเป็นกลิ่นเหมือนปูเพิ่งนึ่งสุกใหม่ๆ แต่ถ้าเนื้อปูไม่สด วิธีสังเกตง่ายๆ น้ำในถุงเนื้อปูมีสีขาวขุ่น เป็นเมือก มีกลิ่นเหม็นฉุนเวลาดม เนื้อปูจะมีลักษณะยุย ดูไม่เป็นก้อน

การเลือกซือปูทะเล

ปูเนื้อ สำหรับคนที่ชอบทานเนื้อปู ก็ต้องเลือกซื้อ "ปูตัวผู้" เพราะปูตัวผู้จะมีเนื้อแน่นและเยอะหวานกว่าปูตัวเมีย เนื่องจากปูตัวเมียต้องเอาพลังงานไปเลี้ยงไข่ ทำให้เนื้อปูตัวเมียจะไม่หวานแน่น วิธีการเลือกซื้อปูให้สด หวาน เนื้อแน่น มีดังนี้
• จับดูจะรู้สึกว่าปูมีน้ำหนัก ไม่กลวง หรือเบาเกินไป
• พลิกดูที่ตะปิ้งปู ตะปิ้งที่ท้องปูจะต้องเป็นเรียว และเป็นทรงสามเหลี่ยมแหลม
• ลองกดเบาๆ ที่ตะปิ้ง ให้เลือกปูตัวที่กดแล้วแน่น ไม่หลวม กดแล้วไม่ยุบ
• ให้ลองหยิบปูขึ้นมาแล้วเลือกปูตัวที่มีกระดองแข็ง และมีน้ำหนัก อย่าเลือกตัวที่เบาเพราะมีความเป็นไปได้ว่าปูตัวนี้อาจจะเนื้อไม่แน่น ไม่มีเนื้อซึ่งเกิดจากปูกำลังเตรียมลอกคาบ
• อย่าเลือกปูกระดองนิ่ม หรือไม่แข็งเต็มที่ เพราะนั่นอาจจะเป็นปูที่เพิ่งลอกคราบ ทำให้เนื้อหลวมไม่แน่น เวลานำไปนึ่งจะคายน้ำออกมา
ปูไข่ เป็นปูทะเลไข่จะเยอะ แน่น หวานมัน ส่วนปูไข่ม้าไม่ค่อยนิยม เรามาดูกันการเลือกซื้อปูไข่มีวิธีอะไรบ้าง
• จับดูจะรู้สึกว่าปูมีน้ำหนัก ไม่กลวง ไม่เบาเกินไป เพราะปูไข่จะมีเนื้อที่ลีบกว่าปูเนื้อ
• พลิกดูที่ตะปิ้งปู ตะปิ้งของปูที่มีไข่ จะมีสีเข้ม และนูนออกมามากกว่าปกติ กดลงไปแล้วแน่น กดแล้วไม่ยุบ
• เคาะกระดองปู จะรู้สึกว่ากระดองแน่น ตัน ไม่กลวง เพราะถ้ากระดองกลวง ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าในตัวปูนั้นไม่มีไข่
• ปูตัวเมีย ตัวจะมีสีเทาอมน้ำตาล แต่ถ้าตัวไหนมีปลายขาสีฟ้า อย่าซื้อ เพราะจะเป็นปูกระเทย ในกระดองจะมีแต่มันปูไม่มีไข่
• อย่าเลือกซื้อปูที่มีไข่สีน้ำตาลเข้มๆ เกาะอยู่ที่บริเวณนอกกระดอง เรียกว่า ปูไข่นอกกระดอง เพราะไข่พวกนั้นคือไข่ที่ได้รับการผสมพร้อมออกเป็นตัวแล้ว
หมายเหตุ: วิธีดูปูตัวไหนเป็นปูตัวผู้ หรือ ปูตัวเมีย
• ปูตัวผู้ (ปูเนื้อ)
ตะปิ้งที่ท้องจะเรียว และเป็นทรงสามเหลี่ยมแหลมกว่า สำหรับปูม้าตัวผู้จะมีสีออกน้ำเงินกว่าปูม้าตัวเมีย
• ปูตัวเมีย (ปูไข่) ตะปิ้งที่ท้องจะป้านและกลม
อันตราย 3 ประการที่ต้องระวังในการเลือกซื้อผักสดและผลไม้
ความแตกต่างระหว่าง ปูตัวผู้ และ ปูตัวเมีย
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved